Sesame Street Betty Lou

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

สิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมสัมมนา เรื่องผู้บริหารยุคใหม่ เข้าใจ ทันภัย กฎหมายไอที

ตอบ ได้รู้เกี่ยวกับกฎหมายเรื่องไอที ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนหรือสิ่งที่เราคิดว่ามันเป็นแค่เรื่องเล็กๆเราทำไปเพื่อความสนุก แต่ในทางกฎหมายมันอาจจะเป็นเรื่องใหญ่จนต้องถูกดำเนินคดีก็ได้ ดังนั้นหากเราคิดจะโพสหรือกระทำเรื่องใด เราควรคิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

IPv6 : Internet Protocol version 6

IPv6 คืออะไร

      กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet อินเทอร์เน็ตส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่ หมายเลขอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน จะต้องมีเลขหมายเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใคร

   หมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต และ
หากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครื่อข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (The Internet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก(Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้าง
ของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใน
อนาคตได้เป็นอย่างดี

ทำไมจึงต้องเริ่มใช้ IPv6 

   ประโยชน์หลักของ IPv6 และเป็นเหตุผลสำคัญของการเริ่มใช้ IPv6 ได้แก่ จำนวน IP address ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน IP address เดิมภายใต้ IPv4 IPv4 address มี 32 บิต ในขณะที่ IPv6 address มี 128 บิต ความแตกต่างของจำนวน IP address มีมากถึง 296 เท่า

   ความสำคัญของการมี IP address ที่ไม่ซ้ำกันและสามารถเห็นกันได้ทั่วโลก จะช่วยผลักดันการพัฒนา แอพพลิเคชั่นแบบ peer-to-peer ที่ต้องการ IP address จริงเป็นจำนวนมาก เช่นการทำ file sharing, instant messaging, และ online gaming แอพพลิเคชั่นเหล่านี้มีข้อจำกัดภายใต้ IPv4 address เนื่องจากผู้ใช้บางส่วนที่ได้รับจัดสรร IP address ผ่าน NAT (NetworkAddress
Translation) ไม่มี IP address จริง จึงไม่สามารถใช้แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ได้

    สำหรับองค์กรหรือบริษัทห้างร้านต่างๆ การมี IP address จริงอาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญ อย่างไรก็ตามหน่วยงานเหล่านี้ควรมีความเข้าใจถึงข้อจำกัดของการใช้ NAT นั่นก็คือ การใช้ IP address ปลอม อาจทำให้เกิดความยุ่งยากในอนาคตหากต้องมีการรวมเครือข่ายสองเครือข่ายที่ใช้ IP address ปลอมทั้งคู่ อีกทั้ง การใช้ IP address ปลอม เป็นการปิดโอกาสที่จะใช้แอพพลิเคชั่นหรือบริการแบบ
peer-to-peer เช่น IPsec ในอนาคต

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

มาตรฐานของ Wireless LAN (แลนไร้สาย)



แลนไร้สาย หรือ ไวเลสแลน (Wireless LAN, WLAN)   คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกัน   เป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้สาย โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุในการเชื่อมต่อหรือสื่อสารกัน           การเชื่อมต่อแลนไร้สายมีทั้งแบบเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันและเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point)

ระบบเครือข่าย Wireless LAN ตามมาตรฐาน    IEEE 802.11

สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronic Engineers) ได้กำหนดมาตรฐานแรกของระบบเครือข่ายไร้สาย โดยใช้ชื่อ IEEE802.11 แล้วมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและขยายออกไปเป็นมาตรฐานต่าง ๆ ดังนี้ 
1. มาตรฐาน  IEEE 802.11b เป็นมาตรฐานเครือข่ายของระบบ Wireless LAN ที่ใช้ความถี่ย่าน 2.4 GHz ซึ่งเป็นความถี่เสรีที่เปิดให้ใช้โดยทั่วไป ทั้งนี้จะมีกลไกการส่งสัญญาณเป็นแบบ DSSS โดยความเร็วในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่ 4 ระดับคือตั้งแต่ 1Mbps, 2 Mbps, 5.5 Mbps และสูงสุดที่ 11 Mbps ระยะการใช้งานไกลสุดอยู่ที่ 100 เมตร
2. มาตรฐาน IEEE 802.11g เป็นมาตรฐานเครือข่ายของระบบ Wireless LAN ที่ใช้ความถี่ย่าน 2.4 GHz มีกลไกการส่งสัญญาณแบบ DSSS และOFDM สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ Wireless LAN มาตรฐาน  IEEE 802.11b ความเร็วสูงสุดในการทำงานของมาตรฐานนี้อยู่ที่ 54 Mbps (แบบ DSSS : 1 Mbps, 2 Mbps, 5.5 Mbps และ 11 Mbps และแบบ OFDM : 6 Mbps, 9 Mbps, 12 Mbps, 18 Mbps, 24 Mbps, 36 Mbps, 48 Mbps และ 54 Mbps) และมีระยะทำงานไกลสุดเท่ากับมาตรฐาน IEEE 802.11b คือ100 เมตร
3.มาตรฐาน IEEE 802.11a เป็นมาตรฐานเครือข่ายของระบบ Wireless LAN ที่ใช้ความถี่ย่าน 5 GHz (ในประเทศไทยไม่อนุญาตให้ใช้งาน) มีกลไกการส่งสัญญาณแบบ OFDM ความเร็วในการทำงาน 54 Mbps (6 Mbps, 9 Mbps, 12 Mbps, 18 Mbps, 24 Mbps, 36 Mbps, 48 Mbps และ 54 Mbps) ที่ระยะไกลสุด 50 เมตร แต่ไม่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ในมาตรฐาน IEEE 802.11g ได้เนื่องจากใช้ความถี่ต่างกัน            
4.มาตรฐาน IEEE 802.11n เป็นมาตรฐานเครือข่ายของระบบ Wireless LAN ที่จะมาแทนที่มาตรฐาน IEEE 802.11a, IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน โดยมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลในระดับ 100 Mbps และระยะทางในการใช้งานที่ไกลกว่า ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีใหม่แบบ MIMO ทั้งนี้จะทำให้สามารถรองรับการทำงานของ VDO Streaming, Game, VoIP หรือการสั่งพิมพ์งานผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย
         คลิ๊กแหล่งที่มา
         คลิ๊กแหล่งที่มา
         คลิ๊กแหล่งที่มา

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6

1.คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     - ความถูกต้อง(Accuracy) 
               จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหรือถูกต้องตรงกันกับแหล่งข้อมูลนั้น
           - มีความเป็นปัจจุบัน(Update) 
               ข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ในการประมวลผลจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง
           - ตรงตามความต้องการ(relevance)
                ข้อมูลที่ถูกต้องแต่ไม่ตรงกับความต้องการก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่ใช้ไม่ได้
           - ความสมบูรณ์(Complete)
                ข้อมูลที่ดีต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์
           - สามารถตรวจสอบได้(Verifiable)
                ข้อมูลที่ดีควรตรวจสอบแหล่งที่มาหรือหลักฐานอ้างอิงได้

5.ในแง่ของการจัดการข้อมูลนั้น ข้อมูลมีโอกาสซ้ำกันได้หรือไม่ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร
ตอบ ข้อมูลมีโอกาสซ้ำกันได้ มีวิธีแก้ไขคือใช้วิธีการจัดเก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันนำมาจัดเรียงรวมกันเสียใหม่อย่างเป็นระบบเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหาและเรียกใช้ข้อมูลร่วมกัน โดยจัดทำเป็น ระบบฐานข้อมูล นั่นเอง

8.เหตุใดจึงต้องนำระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการทำงาน จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ เพราะการนำระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการทำงานนั้นจะช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลบนเว็บสำหรับการเก็บข้อมูลสินค้า ข้อมูลการซื้อ ข้อมูลยอดขาย เป็นต้น

10.DBMS มีประโยชน์อย่างไรต่อการใช้งานฐานข้อมูล
ตอบเป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดีโดยไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากก๊สามารถดูแลรักษาฐานข้อมูลได้รวมถึงควบคุมการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วย อีกทั้งยังทำให้การค้นคืนข้อมูลต่างๆสามารถทำได้ง่ายดาย ซึ่งมีภาษาการจัดเก็บข้อมูลโดยเฉพาะของตนเอง

12.ความสามารถทั่วไปของ DBMS มีอะไรบ้าง จงอธิบาย 
ตอบ คุณสมบัติหรือความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS พอสรุปได้ดังนี้
-สร้างฐานข้อมูลโดยปกตินั้น การออกแบบฐานข้อมูลอาจต้องมีการเก็บข้อมูลหรือขั้นตอนการทำงานของระบบที่จะพัฒนาเสียก่อนเพื่อให้ทราบได้ว่าต้องการฐานข้อมูลอะไรบ้าง ตารางที่จัดเก็บมีกี่ตาราง จากนั้นจึงนำเอามาสร้างเป็นฐานข้อมูลจริงใน DBMS ทั่วโป โดยผ่านเครื่องมือที่มีอยู่ในโปรแกรมซึ่งอาศัยภาษา SQLในการสั่งงาน- เพิ่ม เปลี่ยนแปลงแก้ไขและลบข้อมูลฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นด้วย DBMS นั้น สามารถเพิ่มค่า เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลต่างๆได้ทุกเมื่อโดยเข้าไปจัดการได้ที่ DBMS โดยตรง เช่น เพิ่มค่าเรคอร์ดบางเรคอร์ดที่ตกหล่น ลบหรือแก้ไขข้อมูลบางเรคอร์ดที่ต้องการ เป็นต้น- จัดเรียงและค้นหาข้อมูลDBMS สามารถจัดเรียงข้อมูลได้โดยง่าย ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้จัดเรียงแบบใด เรียงข้อมูลจากค่าน้อยไปหาค่ามากหรือเรียงตามลำดับวันเวลา เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถระบุค่าเพียงบางค่าเพื่อค้นหาข้อมูลได้โดยง่าย เช่น ป้อนอักษร เพื่อค้นหาข้อมูลสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ได้ เป็นต้น- สร้างรูปแบบและรายงาน การแสดงผลบนหน้าจอ (form) และพิมพ์ผลลัพธ์รายการต่างๆออกมาเป็นรายงาน (report) เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่ DBMS สามารถทำได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลดังกล่าว สามารถตรวจสอบหรือแก้ไขรายการที่มีอยู่นั้นได้โดยง่าย

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ระบบปฏิบัติการ Window 7



วินโดวส์ 7 เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ตัวที่ 7 ของสายตระกูลวินโดวส์ Windows 7 ในแรกเริ่มเดิมทีมีชื่อหรือรหัสในการพัฒนาว่า แบล็คโคมบ์ (Blackcomb) ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็น เวียนนา (Vienna) โดย Windows 7 จะถูกผลิตขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นกับ Vista ที่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งคำว่า 7 น่าจะมาจากการเป็นวินโดว์รุ่นที่ 7 โดยเริ่มจากการนับ Windows 1.0-3.0Windows NT คือ 3.1,Windows 95 Windows NT4 คือ 4.0, Windows 98 คือ 4.0.1998, Windows 98 SE คือ 4.10.2222 Windows ME คือ 4.90.3000,Windows 2000 คือ 5.0, Windows XP คือ 5.1, Windows Vista คือ 6.0 และ Windows 7 คือ 6.1

เทคนิคการทำงานของระบบปฏิบัติการWindows 7 

ในลักษณะ Tips And Techniquse

 Desktop Slideshow: วอลเปเปอร์เปลี่ยนได้
                ใครที่ชอบสร้างบรรยากาศในการทำงานบนคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ค นี่คือลูกเล่นเล็กๆ น้อยๆ ให้คุณได้เปลี่ยนความจำเจ ด้วยฟีเจอร์ Desktop Slideshow ที่คุณสามารถเลือกชุดภาพพื้นหลัง (Background) แล้วตั้งค่าให้เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แก้เบื่อเพิ่มความเท่ได้ไม่น้อย


               
     ก่อนอื่นสร้างโฟลเดอร์ใหม่ที่จะใช้เป็นสไลด์โชว์เก็บภาพที่ต้องการโชว์ไว้ในโฟลเดอร์ จากนั้นเข้าไปที่ Start ในช่อง Run พิมพ์ “Desktop Background” แล้วกด Enter จากนั้นจะมีหน้าต่างใหม่โชว์ขึ้นมา ที่หัวข้อ Picture Location ให้คุณเลือก “Picture Library” ทำการ Browse ไปยังโฟลเดอร์ที่สร้างตอนแรก จากนั้นที่ด้านล่างให้เลือก “Change Picture Every” เพื่อตั้งเวลาในการเปลี่ยนภาพ กด “Save Change” เท่านี้ก็เสร็จสิ้นจากเปลี่ยนแบ็กกราวด์ให้เป็นสไลด์โชว์
 

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Prefix

Prefix คืออะไร?

    prefix (พรี-ฟิกซฺ) หมายถึง ส่วนประกอบหน้าคำหลัก สำหรับ prefix นั้น เปรียบเสมือนกับกาฝาก ที่จะต้องเกาะอยู่กับคำหลัก ซึ่งมีความหมายโดยสมบูรณ์ภายในตัวมันเองอยู่แล้ว เมื่อนำเอา prefix ใส่เข้าไปหน้าคำหลัก ก็จะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป แต่ยังคงหน้าที่ของคำหลักไว้เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง


ขนาดความจุ               
                บิต (Bit) Binary Digit เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลที่ใช้อยู่ในคอมพิวเตอร์               
                ไบต์ (Byte) ตัวเลขจำนวน 8 บิต จะรวมกันเข้าเป็น 1 ไบต์               
                 กิโลไบต์ (Kilobyte) ใช้ย่อว่า KB โดย 1 KB มีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์               
                 เมกะไบต์ (Megabyte) ใช้ย่อว่า MB โดย 1 MB มีค่าเท่ากับ 1,048,576 หรือ(1,024 x 1,024 ) มักใช้ในการวัดหน่วยความจำหลัก (RAM)               
                 กิกะไบต์ (Gigabyte)  ใช้ย่อว่า GB โดย 1 GB มีค่าเท่ากับ 1,073,741,824 หรือ (1,024  x 1,024 x 1,024)               
                 เทราไบต์ (Terabyte) ใช้ย่อว่า TB โดย 1 เทราไบต์จะเท่ากับ 1,099,511,627,776 หรือ (1024 x 1024 x 1024 x 1024) บิต (Bit) Bin
เวลา               
                 มิลลิเซกันด์ (Millisecond) หรือ 1 ส่วนพันวินาที ใช้วัดเวลาเฉลี่ยในการเข้าถึงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์(Access Time)               
                 ไมโครเซกันด์ (Microsecond) หรือ 1 ส่วนล้านวินาที               
                 นาโนเซกันด์ (Nanosecond) หรือ 1 ส่วนพันล้านวินาที ใช้วัดความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลใน
หน่วยความจำหลัก               
                 พิโคเซกันด์ (Picosecond) หรือ 1 ส่วนล้านล้านวินาที มักใช้วัดรอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ๆ
ความเร็ว               
                 เฮิรตซ์ (Hz : Hertz) หรือ รอบต่อวินาที มักใช้ในการวัดรอบการทำงานของนาฬิกาของ Processorหรือความเร็วของ Bus               
                 มิปส์ (MIPS : Millions of Instructions Per Second) มักใช้วัดความเร็วในการประมวลผลเครื่องคอมพิวเตอร์  (คำสั่งต่อวินาที)

    
Data Measurement Chart
Data MeasurementSize
BitSingle Binary Digit (1 or 0)
Byte8 bits
Kilobyte (KB)1,024 Bytes
Megabyte (MB)1,024 Kilobytes
Gigabyte (GB)1,024 Megabytes
Terabyte (TB)1,024 Gigabytes
Petabyte (PB)1,024 Terabytes
Exabyte (EB)1,024 Petabytes
คลิ๊กแหล่งที่มา
คลิ๊กแหล่งที่มา
คลิ๊กแหล่งที่มา