วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557
สิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมสัมมนา เรื่องผู้บริหารยุคใหม่ เข้าใจ ทันภัย กฎหมายไอที
ตอบ ได้รู้เกี่ยวกับกฎหมายเรื่องไอที ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนหรือสิ่งที่เราคิดว่ามันเป็นแค่เรื่องเล็กๆเราทำไปเพื่อความสนุก แต่ในทางกฎหมายมันอาจจะเป็นเรื่องใหญ่จนต้องถูกดำเนินคดีก็ได้ ดังนั้นหากเราคิดจะโพสหรือกระทำเรื่องใด เราควรคิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
IPv6 : Internet Protocol version 6
IPv6 คืออะไร
กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet อินเทอร์เน็ตส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่ หมายเลขอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน จะต้องมีเลขหมายเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใคร
หมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต และ
หากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครื่อข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (The Internet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก(Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้าง
ของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใน
อนาคตได้เป็นอย่างดี
ทำไมจึงต้องเริ่มใช้ IPv6
ประโยชน์หลักของ IPv6 และเป็นเหตุผลสำคัญของการเริ่มใช้ IPv6 ได้แก่ จำนวน IP address ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน IP address เดิมภายใต้ IPv4 IPv4 address มี 32 บิต ในขณะที่ IPv6 address มี 128 บิต ความแตกต่างของจำนวน IP address มีมากถึง 296 เท่า
ความสำคัญของการมี IP address ที่ไม่ซ้ำกันและสามารถเห็นกันได้ทั่วโลก จะช่วยผลักดันการพัฒนา แอพพลิเคชั่นแบบ peer-to-peer ที่ต้องการ IP address จริงเป็นจำนวนมาก เช่นการทำ file sharing, instant messaging, และ online gaming แอพพลิเคชั่นเหล่านี้มีข้อจำกัดภายใต้ IPv4 address เนื่องจากผู้ใช้บางส่วนที่ได้รับจัดสรร IP address ผ่าน NAT (NetworkAddress
Translation) ไม่มี IP address จริง จึงไม่สามารถใช้แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ได้
สำหรับองค์กรหรือบริษัทห้างร้านต่างๆ การมี IP address จริงอาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญ อย่างไรก็ตามหน่วยงานเหล่านี้ควรมีความเข้าใจถึงข้อจำกัดของการใช้ NAT นั่นก็คือ การใช้ IP address ปลอม อาจทำให้เกิดความยุ่งยากในอนาคตหากต้องมีการรวมเครือข่ายสองเครือข่ายที่ใช้ IP address ปลอมทั้งคู่ อีกทั้ง การใช้ IP address ปลอม เป็นการปิดโอกาสที่จะใช้แอพพลิเคชั่นหรือบริการแบบ
peer-to-peer เช่น IPsec ในอนาคต
ความสำคัญของการมี IP address ที่ไม่ซ้ำกันและสามารถเห็นกันได้ทั่วโลก จะช่วยผลักดันการพัฒนา แอพพลิเคชั่นแบบ peer-to-peer ที่ต้องการ IP address จริงเป็นจำนวนมาก เช่นการทำ file sharing, instant messaging, และ online gaming แอพพลิเคชั่นเหล่านี้มีข้อจำกัดภายใต้ IPv4 address เนื่องจากผู้ใช้บางส่วนที่ได้รับจัดสรร IP address ผ่าน NAT (NetworkAddress
Translation) ไม่มี IP address จริง จึงไม่สามารถใช้แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ได้
สำหรับองค์กรหรือบริษัทห้างร้านต่างๆ การมี IP address จริงอาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญ อย่างไรก็ตามหน่วยงานเหล่านี้ควรมีความเข้าใจถึงข้อจำกัดของการใช้ NAT นั่นก็คือ การใช้ IP address ปลอม อาจทำให้เกิดความยุ่งยากในอนาคตหากต้องมีการรวมเครือข่ายสองเครือข่ายที่ใช้ IP address ปลอมทั้งคู่ อีกทั้ง การใช้ IP address ปลอม เป็นการปิดโอกาสที่จะใช้แอพพลิเคชั่นหรือบริการแบบ
peer-to-peer เช่น IPsec ในอนาคต
วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557
มาตรฐานของ Wireless LAN (แลนไร้สาย)
แลนไร้สาย หรือ ไวเลสแลน (Wireless LAN, WLAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้สาย โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุในการเชื่อมต่อหรือสื่อสารกัน การเชื่อมต่อแลนไร้สายมีทั้งแบบเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันและเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point)
ระบบเครือข่าย Wireless LAN ตามมาตรฐาน IEEE 802.11
สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronic Engineers) ได้กำหนดมาตรฐานแรกของระบบเครือข่ายไร้สาย โดยใช้ชื่อ IEEE802.11 แล้วมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและขยายออกไปเป็นมาตรฐานต่าง ๆ ดังนี้
1. มาตรฐาน IEEE 802.11b เป็นมาตรฐานเครือข่ายของระบบ Wireless LAN ที่ใช้ความถี่ย่าน 2.4 GHz ซึ่งเป็นความถี่เสรีที่เปิดให้ใช้โดยทั่วไป ทั้งนี้จะมีกลไกการส่งสัญญาณเป็นแบบ DSSS โดยความเร็วในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่ 4 ระดับคือตั้งแต่ 1Mbps, 2 Mbps, 5.5 Mbps และสูงสุดที่ 11 Mbps ระยะการใช้งานไกลสุดอยู่ที่ 100 เมตรคลิ๊กแหล่งที่มา
2. มาตรฐาน IEEE 802.11g เป็นมาตรฐานเครือข่ายของระบบ Wireless LAN ที่ใช้ความถี่ย่าน 2.4 GHz มีกลไกการส่งสัญญาณแบบ DSSS และOFDM สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ Wireless LAN มาตรฐาน IEEE 802.11b ความเร็วสูงสุดในการทำงานของมาตรฐานนี้อยู่ที่ 54 Mbps (แบบ DSSS : 1 Mbps, 2 Mbps, 5.5 Mbps และ 11 Mbps และแบบ OFDM : 6 Mbps, 9 Mbps, 12 Mbps, 18 Mbps, 24 Mbps, 36 Mbps, 48 Mbps และ 54 Mbps) และมีระยะทำงานไกลสุดเท่ากับมาตรฐาน IEEE 802.11b คือ100 เมตร
3.มาตรฐาน IEEE 802.11a เป็นมาตรฐานเครือข่ายของระบบ Wireless LAN ที่ใช้ความถี่ย่าน 5 GHz (ในประเทศไทยไม่อนุญาตให้ใช้งาน) มีกลไกการส่งสัญญาณแบบ OFDM ความเร็วในการทำงาน 54 Mbps (6 Mbps, 9 Mbps, 12 Mbps, 18 Mbps, 24 Mbps, 36 Mbps, 48 Mbps และ 54 Mbps) ที่ระยะไกลสุด 50 เมตร แต่ไม่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ในมาตรฐาน IEEE 802.11g ได้เนื่องจากใช้ความถี่ต่างกัน4.มาตรฐาน IEEE 802.11n เป็นมาตรฐานเครือข่ายของระบบ Wireless LAN ที่จะมาแทนที่มาตรฐาน IEEE 802.11a, IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน โดยมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลในระดับ 100 Mbps และระยะทางในการใช้งานที่ไกลกว่า ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีใหม่แบบ MIMO ทั้งนี้จะทำให้สามารถรองรับการทำงานของ VDO Streaming, Game, VoIP หรือการสั่งพิมพ์งานผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย
คลิ๊กแหล่งที่มา
คลิ๊กแหล่งที่มา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)